วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556

ข้อมูลทั่วไป สสอ.เมืองบึงกาฬ



ข้อมูลพื้นฐาน

1. ประวัติความเป็นมา

ในอดีตอำเภอเมืองบึงกาฬ เป็นตำบลอยู่ในเขตปกครองของอำเภอชัยบุรี (เมืองไชยบุรี) ขึ้นกับจังหวัดนครพนม ต่อมาทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอชัยบุรี (ปากแม่น้ำสงคราม) มาตั้งบ้านบึงกาญจน์ (ริมฝั่งแม่น้ำโขง) ตรงข้ามเมืองปากซัน แขวงบํลิคำไซ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสร้างอำเภอชัยบุรีขึ้นใหม่ โดยโอนการปกครองมาขึ้นกับจังหวัดหนองคาย เมื่อปี พ.ศ. 2459 โดยมี ร.อ.ท.พระบริบาลศุภกิจ (คำสาย  ศิริขันธ์) เป็นนายอำเภอคนแรก และได้เปลี่ยนชื่ออำเภอมาเป็นอำเภอบึงกาญจน์ เมื่อปี พ.ศ. 2475 และเปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอบึงกาฬ เมื่อปี พ.ศ. 2477 ได้มีการประกาศยกฐานะ อำเภอบึงกาฬเป็น "อำเภอเมืองบึงกาฬ" ตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ดังกล่าว อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป มีนายชัยวัฒน์  สารสมบัติ เป็นนายอำเภอเมืองบึงกาฬ
คำขวัญอำเภอเมืองบึงกาฬ
สองนางศาลศักดิ์สิทธิ์  อิทธิฤทธิ์หลวงพ่อใหญ่  แหล่งน้ำใสหนองกุดทิง  สุดใหญ่ยิ่งแข่งเรือยาว                                 
หาดทรายขาวเป็นสง่า  น่าทัศนาแก่งอาฮง  งามน้ำโขงที่บึงกาฬ  สุขสำราญที่ได้ยล
2. อาณาเขต 
อำเภอเมืองบึงกาฬ  ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง เหนือสุดจากภาคอีสาน ห่างจากกรุงเทพมหานคร 751 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 1,123 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ เมืองปากซัน แขวงบํลิคำไซ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอเซกา อำเภอศรีวิไล อำเภอพรเจริญ และอำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

แผนที่อำเภอเมืองบึงกาฬ 



3. การแบ่งเขตการปกครอง
อำเภอเมืองบึงกาฬ แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 ตำบล 131 หมู่บ้าน ได้แก่
1. ตำบลบึงกาฬ           11  หมู่บ้าน      กำนันชื่อ นายสุนทร    วังสพันธ์
2. ตำบลโนนสมบูรณ์      13  หมู่บ้าน      กำนันชื่อ นายเตียงศักดิ์  เชิดพล
3. ตำบลโนนสว่าง         11  หมู่บ้าน      กำนันชื่อ นายสมเพียร    เข็มศิริ
4. ตำบลหอคำ             14  หมู่บ้าน      กำนันชื่อ นายวรกฎ      ศรีแก่น
5. ตำบลหนองเลิง         13  หมู่บ้าน      กำนันชื่อ นายสมาน    ชัยจันทา
6. ตำบลโคกก่อง             9  หมู่บ้าน     กำนันชื่อ นายบุญอุ้ม     ยศเคน
7. ตำบลนาสวรรค์           9  หมู่บ้าน     กำนันชื่อ นายสามารถ ดาวเสด็จ
8. ตำบลไคสี               10  หมู่บ้าน      กำนันชื่อ นายวิไล  พะนะบริหาร
9. ตำบลชัยพร             13  หมู่บ้าน      กำนันชื่อ นายไพ         แพงดวง
10. ตำบลวิศิษฐ์           13  หมู่บ้าน      กำนันชื่อ นายสมยศ    จันทร์สูง
11. ตำบลคำนาดี                   8  หมู่บ้าน      กำนันชื่อ นางจำรัส  สุวรรณวงศ์
12. ตำบลโป่งเปือย        7  หมู่บ้าน      กำนันชื่อ นายไสว        วันทอง

4. การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอเมืองบึงกาฬ  ประกอบด้วย เทศบาล 7 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 6 แห่ง ได้แก่
  • เทศบาลตำบลบึงกาฬ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบึงกาฬและบางส่วนของตำบลวิศิษฐ์
    • นายกเทศมนตรีชื่อ นายวิทยา  เสนจันฒิไชย   ปลัดเทศบาลชื่อ นายบุญลือ  มีสา
  • เทศบาลตำบลวิศิษฐ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวิศิษฐ์ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบึงกาฬ)
    • นายกเทศมนตรีชื่อ นายเผด็จ  คงยะโสภา  ปลัดเทศบาลชื่อ นายภคิน  พินิจมนตรี
  • เทศบาลตำบลโนนสว่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนสว่างทั้งตำบล
    • นายกเทศมนตรีชื่อ นายสมาน  สวัสดิ์นที    ปลัดเทศบาลชื่อ นางจุฑามาส  ศรีกมล
  • เทศบาลตำบลหอคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหอคำทั้งตำบล
    • นายกเทศมนตรีชื่อ นายอัมพร  ชัยเสนา     ปลัดเทศบาลชื่อ นายสุนทร  สุดแก้ว
  • เทศบาลตำบลโคกก่อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกก่องทั้งตำบล
    • นายกเทศมนตรีชื่อ นายบัวพันธ์  วงศ์จันทร์ ปลัดเทศบาลชื่อ นางสาวณัฐวรรณ  ทีหอคำ
  • เทศบาลตำบลไคสี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไคสีทั้งตำบล
    • นายกเทศมนตรีชื่อ นายทวี  จิตรวิขาม      ปลัดเทศบาลชื่อ นางสุนารี  เดชมณี
  • เทศบาลตำบลหนองเลิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเลิงทั้งตำบล
    • นายกเทศมนตรีชื่อ นายมงคล  พินทา       ปลัด อบต.ชื่อ นายวรโชติ  จินตฤทธิ์
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบึงกาฬ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงกาฬ (เฉพาะนอกเขตเทศบาล)
    • นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชื่อ นายราชัน  วะนาพรม  ปลัด อบต.ชื่อ นางกรองแก้ว  ธัญญาลาภ
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนสมบูรณ์ทั้งตำบล
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชื่อ นายธนาดุล  บุตรโคตร    ปลัด อบต.ชื่อ นายอเนก  เดชมณี
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาสวรรค์ทั้งตำบล
    • นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชื่อ นายรองฤทธิ์  พรมบุญ    ปลัด อบต.ชื่อ นายบวรพัฒน์  ทุมมณี
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชัยพร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชัยพรทั้งตำบล
    • นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชื่อ นายหนูทอง  มาตรพระคลัง ปลัด อบต.ชื่อ นายเรืองศิลป์  คุ้มสุวรรณ
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคำนาดี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำนาดีทั้งตำบล
    • นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชื่อ นายวิเชียร  สุวรรณรงศ์   ปลัด อบต.ชื่อ นายอดุลย์  ศรีกมล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งเปือย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโป่งเปือยทั้งตำบล
    • นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชื่อ นายสนิท  พลเยี่ยม        ปลัด อบต.ชื่อ นายอนุชิต  ไชยเนตร

         ประชากร
          ชาย 44,501 คน หญิง 43,803  คน รวม 88,304 คน

                           แผนภูมิแสดงประชากรจำแนกชาย – หญิง อำเภอเมืองบึงกาฬ  จังหวัดบึงกาฬ



                      แหล่งข้อมูล: จากข้อมูล DBPOP ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ณ วันที่ 7 ธันวาคม 2555          

5. ข้อมูลอื่น ๆ
5.1  ศาสนสถาน
          - วัดพุทธ         108               แห่ง    
          - โบสถ์คริสต์        4               แห่ง
  (บ้านวิศิษฐ์ บ้านห้วยเซือมใต้ บ้านกลาง และบ้านใหม่ชัยพร)
5.2  การศึกษา
          - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                                                                  65 แห่ง
          - โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ  52  โรง                                         
          - โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน      (หนองตะไก้ ห้วยดอกไม้ นาแวง)           3  โรง
          - โรงเรียนประถมศึกษา (เอกชน) โรงเรียนมหาไถ่ศึกษา)                              1  โรง
          - โรงเรียนมัธยมศึกษา (บึงกาฬ นาสวรรค์พิทย์ฯ โพธิ์ทองพิทย์ฯ หนองเข็งพิทยา)  4  โรง
          - โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ (วัดโชติรสธรรมากร)                         1  โรง
          - โรงเรียนเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทยบึงกาฬ                                       1  โรง
          - วิทยาลัยเทคนิกบึงกาฬ                                                                1 แห่ง
          - มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี วิทยาเขตบึงกาฬ                                      1 แห่ง

6. ข้อมูลด้านสาธารณสุข
           ทรัพยากรสาธารณสุข
                   1) สถานบริการสาธารณสุขภาครัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย
                             - โรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 90 เตียง                            1        แห่ง
                             - สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ                                   1        แห่ง
                             - ศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง โรงพยาบาลบึงกาฬ              1        แห่ง
                             - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล                             14      แห่ง
                   2) สถานบริการสาธารณสุขภาคเอกชน ประกอบด้วย
                             - คลินิกแพทย์                                                    6        แห่ง
                             - คลินิกทันตกรรม                                               1        แห่ง
                             - สถานพยาบาลและผดุงครรภ์                                  3        แห่ง
                             - ร้านขายยาแผนปัจจุบัน                                       7        แห่ง
                             - ร้านขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จ                            3        แห่ง
                             - ร้านขายยาแผนโบราณ                                        5        แห่ง
                             - ร้านขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์               1        แห่ง
                             - สถานที่ผลิตและจำหน่ายยาแผนโบราณ                      1        แห่ง
                   3) องค์กรนิติบุคคล (สมาคม ชมรม มูลนิธิ ฯลฯ)
                             - สมาคมผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย สาขาจังหวัดบึงกาฬ        1        แห่ง
                             - สมาคมกุศลนทีธรรม                                           1        แห่ง
                             - สมาคมบึงกาฬการกุศล                                        1        แห่ง
- ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.)                        131     แห่ง
                             - ชมรมสร้างสุขภาพ                                             131     ชมรม
                             - ชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารแผงลอย                      1        ชมรม
                             - ชมรมสมุนไพรภูมิปัญญาไทย ตำบลวิศิษฐ์                     1        ชมรม
                             - ชมรมตลาดสดน่าซื้อ                                           1        ชมรม
                             - ชมรมภูมิปัญญาไทย ตำบลโป่งเปือย                          1        ชมรม
                             - ชมรมร้านขายยา                                               1        ชมรม
                             - ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพ                                     1        ชมรม
                             - ชมรมนวดแผนไทย                                             1        ชมรม
                             - ชมรม อสม. อำเภอเมืองบึงกาฬ                               1        ชมรม
         




7. อัตรากำลังบุคลากรแต่ละประเภทต่อประชากร

ตารางที่ 1 แสดงจำนวนบุคลากรสาธารณสุข โรงพยาบาลบึงกาฬ   ปี 2555 จำแนกตามวิชาชีพ

วิชาชีพ
ข้าราชการ
ลูกจ้างประจำ/พนักงานรัฐ
ลูกจ้างชั่วคราว
รวม
สัดส่วนต่อปชก.
แพทย์
17
-
1
18
  1 : 4,905.78
ทันตแพทย์
6
-
-
6
  1 : 14,717
เภสัชกร
6
-
3
9
  1 : 9,811
พยาบาลวิชาชีพ
62
-
60
122

พยาบาลเทคนิค
4
-
2
6

นวก.สาธารณสุข
1
-
4
5

เจ้าหน้าที่อื่น ๆ
14
1
17
32

รวม
110
1
87
198


ที่มา งานบริหารบุคคล สสอ.เมืองบึงกาฬ และ รพ.บึงกาฬ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556

ตารางที่ 2 แสดงสัดส่วนบุคลากรต่อประชากรในสถานบริการสาธารณสุข อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

ลำดับ
สถานบริการ
ประชากร
พ.วิชาชีพ
นวก.สธ.
จพ.สธ.
จพ.ทันตฯ
รวม
1
ศชม.รพ.บึงกาฬ
8,823
3
3
1
-
7
2
รพ.สต.โนนสมบูรณ์
9,354
2
4
1
-
7
3
รพ.สต.โนนสว่าง
5,382
1
1
1
-
3
4
รพ.สต.หอคำ
4,087
1
2
-
-
3
5
รพ.สต.หนองเลิง
8,281
2
3
-
1
6
6
รพ.สต.โคกก่อง
6,547
2
1
2
-
5
7
รพ.สต.นาสวรรค์
7,345
1
2
1
-
4
ลำดับ
สถานบริการ
ประชากร
พ.วิชาชีพ
นวก.สธ.
จพ.สธ.
จพ.ทันตฯ
รวม
8
รพ.สต.ไคสี
5,524
1
1
2
-
4
9
รพ.สต.ชัยพร
4,881
1
1
2
-
5
10
รพ.สต.วิศิษฐ์
10,139
2
3
2
-
7
11
รพ.สต.คำนาดี
6,407
1
2
1
-
4
12
รพ.สต.โป่งเปือย
4,815
1
3
-
-
4
13
รพ.สต.โคกสะอาด
2,982
1
2
-
-
3
14
รพ.สต.ดอนปอ
1,638
1
1
1
-
3
15
รพ.สต.ผาสวรรค์
2,841
1
1
1
-
3
รวม
88,304
21
30
15
1
67


ข. เทคโนโลยี อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก  ที่สำคัญในการให้บริการและการปฏิบัติงานขององค์กรที่เหมาะสม และปลอดภัย  ที่ใช้ในหน่วยบริการ
สิ่งอำนวยความสะดวก
พิจารณาจากความพร้อมอาคารสถานที่  สภาพภูมิสถาปัตย์  การจัดห้องบริการให้ตอบสนองความต้องการประชาชน  รวมทั้งยานพาหนะที่สนับสนุนการปฏิบัติงาน  พบว่าต้องพัฒนาดังรายละเอียดต่อไปนี้
       1. ปรับปรุงภูมิสถาปัตย์  (สนองตอบพันธกิจข้อที่ 1 และนโยบาย 3 ดี ข้อที่ 1)
       2. จัดหาครุภัณฑ์สำนักงาน  (สนองตอบพันธกิจข้อที่ 1 และนโยบาย 3 ดี ข้อที่ 1,2)
โดยใช้งบค่าเสื่อม ปีงบประมาณ 2556
อุปกรณ์เครื่องมือ
       มีการสำรวจวัสดุครุภัณฑ์ เครื่องมือที่จำเป็นในหน่วยบริการ โดยใช้แบบประเมินตนเอง  การขึ้นทะเบียนหน่วยบริการปฐมภูมิ และการจัดบริการสุขภาพที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน  เป็นหลักในการพิจารณาผลสรุปได้ดังนี้  (สนองตอบพันธกิจข้อที่ 1 และนโยบาย 3 ดี ข้อที่ 1,2)
เทคโนโลยี
หน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายบริการสุขภาพ CUP เมืองบึงกาฬทุกแห่ง มีความพร้อมในการใช้งานคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารอินเตอร์เนต เพื่อรองรับการบริการสุขภาพ และประมวลผล  โดยมีโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้งานที่สำคัญดังนี้ (สนองตอบพันธกิจข้อที่ 2 และนโยบาย 3 ดี ข้อที่ 1,2)
          1. โปรแกรมระบบฐานข้อมูล รพ.สต. (HosXP_PCU) เป็นโปรแกรมที่มีความสำคัญในระบบข้อมูลสารสนเทศ ระดับหน่วยบริการมาก เก็บข้อมูลประชาชนทุกคน ข้อมูลบริการสุขภาพ  และสามารถประมวลผลออกมาในรูปรายงานผลการดำเนินงาน  สามารถส่งออกข้อมูล 21 แฟ้มมาตรฐาน  เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของหน่วยบริการ และจัดสรรการสนับสนุนทรัพยากรให้หน่วยบริการได้
          2. โปรแกรมคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (CxS2010) เป็นโปรแกรมที่ใช้บันทึกการบริหารจัดการตรวจมะเร็งปากมดลูก แก่กลุ่มหญิงอายุ 30 – 60 ปี  ผลการอ่าน Slide และใช้ติดตามผลหากผู้มีความผิดปกติเพื่อรับบริการดูแลรักษาต่อไป
          3. โปรแกรมงานระบาดวิทยา (R 506) เป็นโปรแกรมที่ใช้บันทึกผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคที่ต้องเฝ้าระวังโดยร่วมใช้ข้อมูลจาก HosXP_PCU และประมวลผลรายงานสถิติการเจ็บป่วยได้ โปรแกรมคัดกรองความเสี่ยง
          4. ระบบการให้คำปรึกษาทางไกล (Skype) และ webcam การใช้งานได้ดีพอสมควร ขึ้นอยู่กับความเร็วของ Internet
          5. ระบบโทรศัพท์ ทุกหน่วยบริการมีใช้ครบทุกแห่ง 
          6. ระบบ Internet ทุกหน่วยบริการมีใช้ครบทุกแห่ง มี web site ของหน่วยบริการเอง



แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านสาธารณสุข
หน่วยคู่สัญญาบริการปฐมภูมิ อำเภอเมืองบึงกาฬ ปีงบประมาณ 2556
1.      การวิเคราะห์องค์กรและการวางแผน
การวิเคราะห์องค์กร เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ภายใน ได้แก่ การหาจุดแข็งขององค์กร ทีมงานมีความเข้มแข็ง เพียงพอต่อการปฏิบัติงานหรือไม่ การหาจุดอ่อนในการทำงานของเจ้าหน้าที่ เช่น ทรัพยากรที่สนับสนุนไม่เพียงพอ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานน้อยเกินไป การวิเคราะห์ภายนอก ได้แก่ การสร้างโอกาสในการพัฒนา เช่น การให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนางาน เช่น การจัดให้มีหน่วยกู้ชีพทุกแห่ง การเข้าร่วมกองทุนสุขภาพตำบลทุกตำบล และภาคส่วนอื่น ๆ ในการให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และภาวะคุกคาม หมายถึง ปัจจัยที่จะเป็นอุปสรรคกีดขวางในการที่จะทำให้งานสำเร็จ เช่น ปัจจัยทางการเมือง และที่สำคัญจะลืมเสียไม่ได้ในการวิเคราะห์องค์กรคือผลการปฏิบัติงานในรอบปีที่ผ่านมา จะทำให้เราทราบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้บรรลุตามรายตัวชี้วัดคืออะไร ปัจจัยที่ส่งผลให้ไม่บรรลุตามรายตัวชี้วัดคืออะไร


การวิเคราะห์ระบบสุขภาพของอำเภอ
หน่วยคู่สัญญาบริการปฐมภูมิ  อำเภอเมืองบึงกาฬ  จังหวัดหนองคาย
ข้อมูลสถานะสุขภาพ ประกอบด้วย

ตารางที่ 1 แสดงอัตราเกิด อัตราตาย อัตราเพิ่มของประชากร 3 ปี ย้อนหลัง ( ปี 2553 – 2555)

ประเภท
ปี 2553
ปี 2554
ปี 2555
อัตราเกิด ต่อพันประชากร
11.33(373)
9.8(323)
6.68(220)
อัตราตาย ต่อพันประชากร
4.74(156)
5.98(197)
4.04(133)
อัตราเพิ่ม ต่อร้อยประชากร
0.65(217)
0.38(126)
0.26(87)
ที่มา : รายงานเกิด-ตาย อำเภอเมืองบึงกาฬ 31 ธันวาคม 2555     
จากตารางที่ 1 แสดงว่า อัตราเกิด 3 ปีย้อนหลัง (ปี 2555 – 2553)  มีแนวโน้มลดลงทุกปี อัตราตาย 3 ปีย้อนหลัง (ปี 2555 – 2553) ปี 2555 ลดลงจากปี 2553 ส่วนอัตราเพิ่ม 3 ปีย้อนหลัง (ปี 2555-2553) ก็มีแนวโน้มลดลงเช่นเดียวกัน



ตารางที่ 2 แสดงโรคที่พบบ่อย 5 อันดับแรก จำแนกรายสถานบริการ   ปี 2555

สถานบริการ
อันดับโรคที่พบบ่อย
1
2
3
4
5
PCU.รพ.บึงกาฬ
เบาหวาน
ความดันโลหิตสูง
อาหารไม่ย่อย
ระบบทางเดินหายใจ
ปวดกล้ามเนื้อ
รพ.สต.หนองเลิง
ระบบทางเดินหายใจ
ความดันโลหิตสูง
เบาหวาน
ทอนซิล
กล้ามเนื้ออักเสบ
รพ.สต.โคกสะอาด
ระบบทางเดินหายใจ
ระบบทางเดินอาหาร
ระบบกล้ามเนื้อ
ต่อมไร้ท้อ
ระบบไหลเวียนเลือด
รพ.สต.หอคำ
ระบบทางเดินหายใจ
ความดันโลหิตสูง
ระบบทางเดินอาหาร
ระบบกล้ามเนื้อ
ระบบผิวหนัง
รพ.สต.ไคสี
คออักเสบ
ระบบทางเดินหายใจ
กระเพาะอาหาร
ผื่นคัน
ปวดกล้ามเนื้อ
รพ.สต.ดอนปอ
ความดันโลหิตสูง
เบาหวาน
ระบบทางเดินหายใจ
ระบบย่อยอาหาร
ผื่นคัน
รพ.สต.หนองเข็ง
ระบบทางเดินหายใจ
คออักเสบ
ผิวหนังอักเสบ
ปวดศีรษะ
เบื่ออาหาร
รพ.สต.โป่งเปือย
ระบบกล้ามเนื้อ
ต่อมไร้ท้อ
ระบบไหลเวียนเลือด
ระบบทางเดินหายใจ
ระบบย่อยอาหาร
รพ.สต.วิศิษฐ์
ระบบทางเดินอาหาร
ระบบกล้ามเนื้อ
ระบบผิวหนัง
ระบบทางเดินหายใจ
กระเพาะอาหาร
สถานบริการ
อันดับโรคที่พบบ่อย
1
2
3
4
5
รพ.สต.โนนสมบูรณ์
กระเพาะอาหาร
ผื่นคัน
ปวดกล้ามเนื้อ
ระบบทางเดินหายใจ
ความดันโลหิตสูง
รพ.สต.นาสวรรค์
ระบบทางเดินหายใจ
ระบบย่อยอาหาร
ผื่นคัน
กล้ามเนื้อ
ผื่นคัน
รพ.สต.คำนาดี
ระบบทางเดินหายใจ
ระบบทางเดินอาหาร
ระบบกล้ามเนื้อ
ต่อมไร้ท้อ
ระบบไหลเวียนเลือด
รพ.สต.โคกก่อง
ระบบทางเดินหายใจ
ความดันโลหิตสูง
ระบบทางเดินอาหาร
ระบบกล้ามเนื้อ
ระบบผิวหนัง
รพ.สต.ชัยพร
ระบบทางเดินอาหาร
ระบบทางเดินหายใจ
กระเพาะอาหาร
ผื่นคัน
ปวดกล้ามเนื้อ
รพ.สต.ผาสวรรค์
ความดันโลหิตสูง
เบาหวาน
ระบบทางเดินหายใจ
ระบบย่อยอาหาร
ผื่นคัน

ที่มา : รายงาน 504 จากโปรแกรม HosXP_PCU  (ตุลาคม 2553-กันยายน 2555)
                จากตารางที่ 2 แสดงว่า โรคที่พบบ่อย 5 อันดับแรก จำแนกรายหน่วยบริการ โรคที่พบมากที่สุด คือ โรคระบบทางเดินหายใจ เป็นอันดับ 1 รองลงมา คือ โรคความดันโลหิตสูง ส่วนโรคที่มีน้อยที่สุด คือ อาการปวดศีรษะ และอาการเบื่ออาหาร






ตารางที่ 3 แสดงสัดส่วน OP ของ รพ.สต. ต่อ รพ. (OP-VISIT) และสัดส่วนผู้มารับบริการปี 2555

หน่วยบริการ
รวมบริการ PP
สัดส่วน
รับบริการที่รพสต.
รับบริการที่ รพ.
อัตรา OP_visit
รพ.สต.
รพ.
รพ.สต.หนองเลิง
9,095
2,397
3.79
61.44
38.56
รพ.สต.โคกสะอาด
10,481
987
10.62
71.51
28.49
รพ.สต.หอคำ
6,868
2,391
2.87
71.81
28.19
รพ.สต.ไคสี
5,116
4,264
1.20
38.91
61.09
รพ.สต.ดอนปอ
2,045
912
2.24
47.04
52.96
รพ.สต.หนองเข็ง
7,540
3,417
2.21
64.32
35.68
รพ.สต.โป่งเปือย
6,247
3,304
1.89
57.33
42.67
รพ.สต.วิศิษฐ์
13,513
8,244
1.64
21.41
78.59
รพ.สต.โนนสมบูรณ์
11,321
6,674
1.70
57.72
42.28
รพ.สต.นาสวรรค์
8,919
4,861
1.83
59.56
40.44
รพ.สต.คำนาดี
8,991
3,280
2.74
56.32
43.68
รพ.สต.โคกก่อง
4,525
5,063
0.89
39.50
60.50
รพ.สต.ชัยพร
6,415
3,053
2.10
58.81
41.19
รพ.สต.ผาสวรรค์
5,237
1,535
3.41
64.64
35.36
จากตารางที่ 3 แสดงว่า สัดส่วน OP ของ รพ.สต. ต่อ รพ. คือ จำนวนผู้รับบริการผู้ป่วยนอกที่หน่วยบริการในพื้นที่ (ไม่ใช่โรงพยาบาล) ต่อผู้ป่วยนอกที่มารับบริการที่โรงพยาบาลบึงกาฬ หน่วยบริการที่มีค่ามากที่สุด คือ รพ.สต.โคกสะอาด รองลงมา คือ รพ.สต.หนองเลิง เนื่องจากทั้งสองหน่วยบริการมีระยะทางห่างไกลจากโรงพยาบาล จึงได้จัดให้มีบริการผู้ป่วยนอกทั้งเชิงรับคือให้บริการที่ รพ.สต. และเชิงรุกอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เช่น จ่ายยา ทำแผลในชุมชน และหน่วยบริการที่มีค่าน้อยที่สุด คือ รพ.สต.โคกก่อง เนื่องจากเป็นหน่วยบริการที่มีระยะทางอยู่ไม่ไกลจากโรงพยาบาลมากนัก จึงทำให้ประชาชนไปรับบริการที่โรงพยาบาลมากกว่า ส่วนสัดส่วนผู้มารับบริการที่ รพ.สต. กับ รพ. นั้น ตามเกณฑ์กระทรวงกำหนดไว้ที่สัดส่วน 60 : 40 พบว่า มี รพ.สต. ที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 5 แห่ง จากทั้งหมด 14 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 35.71


ตารางที่ 4 แสดงพฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพ 5 อันดับแรกของสถานบริการ ปี 2555


หน่วยบริการ
พฤติกรรมเสี่ยง 5 อันดับแรก


1
2
3
4
5

การออกกำลังกาย
ความดันโลหิตสูง
การดื่มแอลกอฮอล์
การขับขี่ยานพาหนะ
โรคเส้นเลือดสมอง

รพ.สต.โคกสะอาด
ความดันโลหิตสูง
การบริโภคอาหาร
การดื่มแอลกอฮอล์
โรคเส้นเลือดสมอง
การสูบบุหรี่

รพ.สต.หอคำ
ความดันโลหิตสูง
การออกกำลังกาย
การดื่มแอลกอฮอล์
การสูบบุหรี่
โรคเส้นเลือดสมอง

รพ.สต.ไคสี
การบริโภคอาหาร
ความดันโลหิตสูง
การออกกำลังกาย
การดื่มแอลกอฮอล์
โรคเส้นเลือดสมอง

รพ.สต.ดอนปอ
ความดันโลหิตสูง
การบริโภคอาหาร
การดื่มแอลกอฮอล์
การขับขี่ยานพาหนะ
โรคเส้นเลือดสมอง

รพ.สต.หนองเข็ง
ความดันโลหิตสูง
การออกกำลังกาย
การดื่มแอลกอฮอล์
โรคเส้นเลือดสมอง
การสูบบุหรี่

รพ.สต.โป่งเปือย
การออกกำลังกาย
การบริโภคอาหาร
การดื่มแอลกอฮอล์
การขับขี่ยานพาหนะ
โรคเส้นเลือดสมอง

รพ.สต.วิศิษฐ์
การบริโภคอาหาร
ความดันโลหิตสูง
การออกกำลังกาย
การดื่มแอลกอฮอล์
โรคเส้นเลือดสมอง

รพ.สต.โนนสมบูรณ์
ความดันโลหิตสูง
การออกกำลังกาย
การดื่มแอลกอฮอล์
โรคเส้นเลือดสมอง
การสูบบุหรี่

รพ.สต.นาสวรรค์
การออกกำลังกาย
ความดันโลหิตสูง
การดื่มแอลกอฮอล์
การขับขี่ยานพาหนะ
โรคเส้นเลือดสมอง

รพ.สต.คำนาดี
ความดันโลหิตสูง
การออกกำลังกาย
การดื่มแอลกอฮอล์
การสูบบุหรี่
โรคเส้นเลือดสมอง

รพ.สต.โคกก่อง
การบริโภคอาหาร
ความดันโลหิตสูง
การออกกำลังกาย
การขับขี่ยานพาหนะ
โรคเส้นเลือดสมอง

รพ.สต.ชัยพร
ความดันโลหิตสูง
การออกกำลังกาย
การดื่มแอลกอฮอล์
การสูบบุหรี่
โรคเส้นเลือดสมอง

รพ.สต.ผาสวรรค์
ความดันโลหิตสูง
การบริโภคอาหาร
การออกกำลังกาย
การดื่มแอลกอฮอล์
โรคเส้นเลือดสมอง

ภาพรวม
ความดันโลหิตสูง
การบริโภคอาหาร
การดื่มแอลกอฮอล์
การขับขี่ยานพาหนะ
โรคเส้นเลือดสมอง

           
จากตารางที่ 4 แสดงว่า พฤติกรรมสุขภาพที่ได้จากการคัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพของประชาชนอายุ 15 ปี ขึ้นไปในอำเภอเมืองบึงกาฬ ปี 2555 ตามแบบคัดกรอง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปของ สปสช. พบว่า ประชาชนมีพฤติกรรมเสี่ยง 5 ลำดับแรกเรียงลำดับจากสูงสุด คือ โรคความดันโลหิตสูง รองลงมา ได้แก่ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ การขับขี่ยานพาหนะ การออกกำลังกาย  และโรคเส้นเลือดสมอง  รายละเอียดจำแนกรายสถานบริการ  ซึ่งใช้เป็นข้อมูลในการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมในปี 2556 ต่อไป

วิเคราะห์องค์กร SWOT Analysis
          จุดแข็ง : Strengths  
หมายถึง   ปัจจัย หรือ องค์ประกอบหลัก  ของสภาพแวดล้อมภายในองค์กรที่เป็นข้อดี หรือ ข้อเด่นหรือจุดแข็ง ที่ส่งผลให้การดำเนินงานขององค์กรได้รับผลผลิตในด้านดี
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ส่วนราชการประสบความสำเร็จเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันคือ
1. ผู้บริหารกำหนดเป็นนโยบายและให้ความสำคัญและสนับสนุนอย่างจริงจัง
2. บุคลากรมีความรู้/เชี่ยวชาญ/มีทักษะ และมีความหลากหลาย  ในสหวิชาชีพ มีการทำงานเป็นทีมรองรับความต้องการของประชาชนทุกกลุ่มอายุ
3. การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร จัดคนให้ตรงกับงาน แบ่งงานให้เหมาะสม
4. มีงบประมาณ และทรัพยากรสนับสนุนตามภารกิจอย่างเพียงพอและมีการบริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ
5. มีกลไกการถ่ายทอดตัวชี้วัดและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
6. มีกลไกในการควบคุมกำกับ ติดตาม ประเมินผล อย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง
7. สร้างขวัญ กำลังใจและแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
8. มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เชื่อมโยงการปฏิบัติงานทุกระดับ มีศูนย์ข้อมูลอำเภอ
9. มีภาคีเครือข่ายสนับสนุนการปฏิบัติงานทุกระดับ
ปัจจัยแต่ละด้าน
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงซึ่งมีผลกระทบต่อสภาพการแข่งขัน
ปัจจัยภายใน
1. บุคลากร
- ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ความก้าวหน้าในตำแหน่ง ค่าตอบแทน
- ความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง
- องค์ความรู้และทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์และการนำไปใช้ และ
   องค์ความรู้ในด้านเทคนิคเฉพาะด้าน
- การมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีมของบุคลากรและมีความรับผิดชอบ
- คุณธรรม จริยธรรม
2. งบประมาณ
- ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหลายแหล่ง ได้แก่ สป.กระทรวงสาธารณสุข
   สปสช. สสส. สพฉ. ท้องถิ่น มีข้อจำกัดในการใช้งบประมาณ
3. วัสดุอุปกรณ์
- กำหนดมาตรการในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
4. การบริหารจัดการ
- มีการบริหารจัดการการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ มีกระบวนการ
  วางแผน ติดตาม ควบคุมกำกับ ประเมินผลงานที่ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัด
- บริหารจัดการด้านสุขภาพตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพที่มุ่งเน้น
  ผลสัมฤทธิ์ โดยการมอบหมายและถ่ายทอดภารกิจงานให้ครอบคลุมเป้าประสงค์
  และเข้าถึงบุคลากรทุกระดับในองค์กร
- ได้นำการพัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) มาพัฒนาองค์กรเพื่อยกระดับ
  คุณภาพการปฏิบัติงานของภาครัฐ

จุดอ่อน : Weakness
หมายถึง ปัจจัยหรือองค์ประกอบหลัก ของสภาพแวดล้อมภายในองค์กรที่เป็น จุดอ่อน หรือจุดบกพร่อง หรือ จุดที่เป็นปัญหา ที่ส่งผลให้การดำเนินงานขององค์กรไม่คุ้มค่าหรือได้รับผลผลิตในด้านเสียหาย

โอกาส : Opportunities
  หมายถึง  องค์ประกอบ หรือ ปัจจัยหลักของ สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรที่ เอื้ออำนวย หรือ ช่วยสนับสนุน  ทำให้ภารกิจขององค์กรประสบความสำเร็จ มากขึ้น เช่น
             - นโยบายของรัฐ         - สภาพเศรษฐกิจ         - สังคม   - สภาพการเมือง       - เทคโนโลยี  

ปัจจัยแต่ละด้าน
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงซึ่งมีผลกระทบต่อสภาพการแข่งขัน
ปัจจัยภายใน
1. นโยบายของรัฐ                  
1.1 สร้างนำซ่อม  ทำให้เกิดภาคีเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคการเมือง เพื่อร่วมขับเคลื่อนงานการสร้างเสริมสุขภาพให้กับประชาชนในชุมชน
        หน่วยงานสาธารณสุขได้นำนโยบายสร้างนำซ่อมมากำหนดเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนาระบบสุขภาพของอำเภอ
1.2 การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น  ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการด้านสุขภาพในชุมชนของตนเอง และเกิดการบูรณาการงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.3 การปฏิรูประบบราชการ  ทำให้องค์กรพัฒนาระบบการบริหารงานของหน่วยงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติราชการ และบุคลากรในองค์กรมีการพัฒนางานและการพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะที่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานให้สามารถปฏิบัติงานบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนด
2. สภาพเศรษฐกิจ
     รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรของประชาชนอำเภอเมืองบึงกาฬ 35,800 บาท/ปี  อันดับที่  65 ของประเทศ  และด้วยสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ประชาชนมีรายได้น้อยส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพ และการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน
3. สภาพสังคม
   พฤติกรรมของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ได้แก่ อาหารจานด่วน น้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ ประชาชนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค ได่แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การรับประทานอาหารหวาน มัน  อาหารสุกๆ ดิบๆ  ขาดการออกกำลังกาย  มีอัตราตายจากอุบัติเหตุเพิ่มสูงขึ้น การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ก่อนวัยอันควร พื้นที่ชายแดนยาวตามลำน้ำโขง การควบคุมป้องกันโรคติดต่อชายแดน ปัญหาภัยธรรมชาติ น้ำท่วม ภัยแล้ง โรคเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ เช่น ทำไร่ยาสูบ สวนยางพารา
4. เทคโนโลยี  (ทีวี วิทยุ อินเตอร์เน็ต หอกระจายข่าว สื่อต่างๆ)
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สมัยใหม่ มีบทบาททำให้ประชาชนสนใจเรื่องสุขภาพ และช่วยให้การทำงานสื่อสารถึงประชาชนได้รวดเร็วขึ้น  ประชาชนสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ทางด้านสุขภาพ ในขณะเดียวกันการโฆษณาชวนเชื่อ เกี่ยวกับยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหารเสริมด้านสุขภาพ สื่อที่รุนแรง สื่อลามก


        อุปสรรค : Threats
หมายถึง  องค์ประกอบ หรือ ปัจจัยหลักของ สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรที่เป็นอุปสรรคหรือ ภัยคุกคาม หรือ ข้อจำกัด อันส่งผลให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จ มากขึ้น เช่น   สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนยากไร้ การสื่อสาร การคมนาคม   - ภัยธรรมชาติ  



วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์
1.1 ลักษณะพื้นฐานของหน่วยคู่สัญญาบริการปฐมภูมิ
 ก. ทิศทางการบริหารงานและการจัดระบบสนับสนุนบริการ
วิสัยทัศน์
           “ประชาชนสุขภาพดี  เจ้าหน้าที่มีความสุข  ทุกภาคีมีส่วนร่วม
พันธกิจ
1. พัฒนาอาคาร สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ให้มีความพร้อมต่อการให้บริการที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ
          2. พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพในการให้บริการด้านสุขภาพอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมดุจญาติมิตร
          3. พัฒนาการบริหารจัดการ ระเบียบ กฎหมาย ให้มีความคล่องตัวในการให้บริการ
4. พัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายบริการสุขภาพ และภาคีเครือข่ายในการจัดการระบบสุขภาพที่
    สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน
เป้าประสงค์
1. เครือข่ายบริการสุขภาพ (CUP) เมืองบึงกาฬได้มีการสนับสนุนการพัฒนาอาคาร สถานที่ มีสิ่งอำนวย
    ความสะดวก ให้มีบรรยากาศที่ดีต่อการให้บริการ และจัดหา วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ให้มีความ
    พร้อมต่อการให้บริการที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ (สนองตอบพันธกิจข้อที่ 1)
2. เครือข่ายบริการสุขภาพ (CUP) เมืองบึงกาฬ มีการพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมในการจัดบริการ
    สุขภาพ และตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
    (สนองตอบพันธกิจข้อที่ 2)
3. เครือข่ายบริการสุขภาพ (CUP) เมืองบึงกาฬ มีระบบการบริหารจัดการตามระเบียบ กฎหมาย ที่
   คล่องตัวในการให้บริการสุขภาพอย่างเพียงพอเหมาะสม และรู้จักช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ภายในเครือข่าย
   (สนองตอบพันธกิจข้อที่ 3)
 4. เครือข่ายบริการสุขภาพ (CUP) เมืองบึงกาฬ จัดให้มีการสนับสนุนในการดูแลสุขภาพจากองค์กร
     ปกครองส่วนท้องถิ่น และทุกภาคส่วน (สนองตอบพันธกิจข้อที่ 4)

ตัวชี้วัด
1. ทุกหน่วยบริการมีการพัฒนาอาคาร สถานที่ มีสิ่งอำนวยความสะดวก จัดให้มีบรรยากาศที่ดีต่อการ
   ให้บริการ และจัดหา วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ให้มีความพร้อมต่อการให้บริการที่ได้มาตรฐานและมี
    คุณภาพ (สนองตอบพันธกิจข้อที่ 1)
          2. ทุกหน่วยบริการจัดให้มีบริการด้านสุขภาพทั้งเชิงรุกและเชิงรับที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ
    ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ (สนองตอบพันธกิจข้อที่ 2)
          3. ทุกหน่วยบริการจัดให้มีการพัฒนาความรู้บุคลากรในการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวใน     
                 การให้บริการ (สนองตอบพันธกิจข้อที่ 3)
          4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง จัดให้มีระบบการดูแลสุขภาพประชาชน เช่น การจัดบริการ
            การแพทย์ฉุกเฉิน การจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น การจัดหายาสามัญประจำบ้าน
    ประจำครอบครัว การสนับสนุนงบประมาณส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามสมควร (สนองตอบพันธกิจข้อที่ 4)

วัฒนธรรมองค์กร
       ยกมือไหว้ แสดงถึงความเคารพผู้อาวุโส
       ทักทายด้วยรอยยิ้ม แสดงถึงความเป็นมิตรไมตรี
       เต็มอิ่มด้วยการให้บริการ แสดงถึงความเต็มใจในการให้บริการ
       ประสานความร่วมมือ แสดงถึงความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ในการดูแลสุขภาพร่วมกัน
ค่านิยมองค์กร
เคารพสิทธิ์ (เคารพสิทธิ์ขั้นพื้นฐานทั้งกับประชาชนและเจ้าหน้าที่)
สุจริตต่อหน้าที่  (มีคุณธรรม  รู้ผิดชอบชั่วดี มีความซื่อสัตย์สุจริต)
รักสามัคคี (มีความรักองค์กร)
          มีวินัยและความรับผิดชอบ (รักษาวินัยข้าราชการ ตลอดจนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่)


การควบคุม กำกับ ติดตาม และประเมินผล
กรอบการนิเทศงานและประเมินผลงานสาธารณสุข
เครือข่ายบริการสุขภาพ (CUP) อำเภอเมืองบึงกาฬ  จังหวัดหนองคาย
1. หลักการและที่มา
ตามที่แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 10 ได้กำหนดเป้าหมายเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพไทย
10 ประการ ดังนี้
1.1 เอกภาพและธรรมาภิบาลในการจัดระบบสุขภาพที่สมดุลและยั่งยืน
1.2 วัฒนธรรมสุขภาพและวิถีชีวิตที่มีความสุขพอเพียงอย่างเป็นองค์รวม
1.3 งานสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกที่สามารถสร้างปัจจัยพื้นฐานของการมีสุขภาพดี
1.4 ระบบสุขภาพชุมชนและเครือข่ายบริการปฐมภูมิที่เข้มแข็ง
1.5 ระบบบริการสุขภาพและการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ มีการใช้เทคโนโลยี ผู้รับบริการมีความอุ่นใจ
    และผู้ให้บริการมีความสุข
1.6 หลักประกันสุขภาพที่เป็นธรรม ทั่วถึง มีคุณภาพ
1.7 ระบบภูมิคุ้มกันและความพร้อมรองรับเพื่อลดผลกระทบจากโรคและภัยคุกคามสุขภาพได้อย่างทัน
    การณ์
1.8 สังคมไม่ทอดทิ้งคนทุกข์ยาก เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
1.9 ทางเลือกสุขภาพที่หลากหลายผสมผสานภูมิปัญญาไทยและสากลอย่างรู้เท่าทันและพึ่งตนเองได้
1.10 ระบบสุขภาพฐานความรู้ด้วยการจัดการความรู้อย่างมีเหตุผลรอบด้าน

ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานด้านสาธารณสุข และระบบการบริหารจัดการเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดให้ จึงจำเป็นต้องมีระบบการติดตาม ควบคุมกำกับและประเมินผลการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์สาธารณสุขจังหวัดหนองคาย จึงได้จัดทำโครงการนิเทศติดตามและประเมินผลงานสาธารณสุข อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ปี 2556

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อนิเทศ ติดตาม ควบคุมกำกับและเร่งรัดการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการที่กำหนดไว้ตามแผน
    ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ
2.1 เพื่อวัดผลการปฏิบัติงาน และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานตามนโยบายและการดำเนินงาน
    ยุทธศาสตร์สาธารณสุข
2.3 เพื่อวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค การดำเนินงาน เพื่อนำไปปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานให้บรรลุ
   วัตถุประสงค์
2.3 เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาการดำเนินงานด้านสาธารณสุข ได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุ
    เป้าหมายต่อไป

3. การนิเทศงาน
แนวทางการนิเทศงาน
3.1 ผู้อำนวยการโรงพยาบาล และสาธารณสุขอำเภอ ชี้แจงนโยบายและแนวทางการดำเนินงาน ปี 2556
    แก่บุคลากรในสังกัด ภายในเดือนมีนาคม 2556

3.2 เครือข่ายบริการสุขภาพ  (CUP) เมืองบึงกาฬ จัดทีมนิเทศงานผสมผสาน ออกตรวจเยี่ยมและนิเทศงาน
    อำเภอ ภายในเดือนเมษายน 2556
ครั้งที่ 1 ในเดือน เมษายน 2556            ครั้งที่ 2 ในเดือน กรกฎาคม 2556
3.3 หน่วยคู่สัญญาบริการปฐมภูมิส่งผลการนิเทศงาน รพ.สต.ทุกแห่ง และสรุปผลในภาพรวมอำเภอ ในประเด็น
    การพัฒนางานสาธารณสุข ให้ครอบคลุมทั้ง 4 ยุทธศาสตร์ 10 เป้าประสงค์ 67 ตัวชี้วัด พร้อมทั้งข้อเสนอปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ สรุปผลการนิเทศงาน นำเสนอผู้บริหารเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนางาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น